ผู้สูงอายุกับการกินอาหาร เป็นช่วงวัยที่ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เนื่องจากอาหารบางประเภทสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายผู้สูงอายุได้ การดูแลเรื่องอาหารและโภชนาการในผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กับการดูแลสุขภาพร่างกายอื่น ๆ เช่นการเฝ้าระวังโรคภัยไข้เจ็บ

ผู้สูงอายุมักจะเผชิญกับปัญหาเรื่องอาหาร เช่น ภาวะเบื่ออาหาร ขาดสารอาหาร การย่อยอาหารไม่ดี ท้องอืด และท้องผูก ดังนั้น เรื่องอาหารและโภชนาการควรถูกใส่ใจอย่างเคร่งครัด

นอกจากอาหารและโภชนาการที่ต้องมีคุณภาพและครบถ้วน 5 หมู่ ยังมีอาหารบางประเภทที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันความเสี่ยงและปัญหาทางสุขภาพ การหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสุขภาพที่แข็งแรง”

10 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้สูงอายุ

  1. อาหารรสจัด อาหารรสจัดไม่ว่าจะเป็นรสเปรี้ยว เค็ม หวาน เผ็ด ไม่ดีต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมีความอ่อนไหวต่อรสชาติของอาหาร อาจทำให้เกิดปวดท้อง หรือท้องเสียได้ง่าย
  2. อาหารไขมันสูง การกินอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด หรืออาหารผัด ซึ่งมีไขมันมาก เป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์
  3. อาหารเคี้ยวยาก-กลืนลำบาก อาหารที่เคี้ยวยาก หรือกลืนลำบาก เช่น เนื้อสัตว์เหนียว ผักหรือผลไม้เนื้อแข็ง ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันการติดคอและปัญหาทางสุขภาพช่องปาก
  4. ของหวาน-ผลไม้รสชาติหวานจัด อาหารที่มีรสหวาน เช่น ขนมหวาน หรือผลไม้รสหวาน ควรกินในปริมาณเล็กน้อย และไม่ควรกินบ่อย เพราะอาหารรสหวานไม่ดีต่อสุขภาพผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน
  5. อาหารหมักดอง-ของแปรรูป อาหารหมักดอง และอาหารแปรรูป มักมีคุณค่าทางอาหารน้อยและไม่ดีต่อสุขภาพ ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันปัญหาทางเดินอาหาร
  6. อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารฟาสต์ฟู้ดมีคุณค่าทางโภชนาการน้อย และอาจมีปริมาณโซเดียมและไขมันสูง ควรหลีกเลี่ยงเพื่อรักษาสุขภาพร่างกาย
  7. ขนมกรุบกรอบ-สแน็ค อาหารประเภทขนมกรุบกรอบและสแน็ค ไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ เนื่องจากอาหารบางชนิดอาจติดคอและกลืนลำบาก
  8. อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารสุกๆ ดิบๆ อาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน และเสี่ยงต่อการปวดท้อง ท้องเสีย ควรจะรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด
  9. อาหาร-เครื่องดื่มมีคาเฟอีน อาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอาจส่งผลต่อระบบการนอนหลับและสุขภาพโดยรวม
  10. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ควรดื่มเนื่องจากมีผลเสียต่อร่างกายและสุขภาพผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น

ผู้สูงอายุควรปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมกับสภาพอายุและสุขภาพของตนเอง โดยควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วน พร้อมทั้งปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อข้อมูลและคำแนะนำที่เหมาะสม

 

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง :www.thairath.co.th

อ่านข่าวสารอื่นๆได้ที่ >> ข่าวสารที่น่าสนใจ

ติดต่อเรา >> คลิ๊ก!