รีวิวอาหาร

อาหารไทย จุดเด่นของอาหารไทย

อาหารไทย

อาหารไทย  เป็นอาหารประจำ ของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอด มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน

จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็น วัฒนธรรมประจำชาติที่ สำคัญของประเทศไทย

อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่อง เคียงที่จัดมาเป็นชุดอาหารไทยดั้งเดิมแบ่งออกอย่างหลวม ๆ

 

เป็นสี่ประเภท ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน

ใน พ.ศ. 2560 มีอาหารไทยบางส่วนถูกบรรจุลงไปใน “50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลก” ซึ่งเป็นโพลออนไลน์จากผู้คน 35,000 คนทั่วโลกโดยซีเอ็นเอ็นแทรเวิล ผลปรากฏว่าอาหารติดหลายอันดับ

 

ได้แก่ ต้มยำกุ้ง (อันดับที่ 4), ผัดไทย (อันดับที่ 5)ส้มตำ (อันดับที่ 6), แกงมัสมั่น (อันดับที่ 10)แกงเขียวหวาน (อันดับที่ 19)

ข้าวผัดไทย(อันดับที่ 24) และน้ำตกหมู (อันดับที่ 36)

คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมกัน 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือนิยมกินข้าว

เหนียวเป็นหลัก ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้นิยมกินข้าวเจ้าเป็นหลัก ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ผูกพันกับสายน้ำมาช้านานทำให้อาหารประจำครัวไทย ประกอบด้วยปลาเสีย

เป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ปลาย่าง ปลาปิ้ง จิ้มน้ำพริกกินกับผักสดที่หาได้ตามหนองน้ำ ชายป่า หากกินปลาไม่หมด ก็สามารถนำมาแปรรูปให้เก็บไว้ได้นานๆไม่ว่าจะเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า ส่วนอาหารรสเผ็ดที่ได้จากพริกนั้น

 

อาหารไทย ได้รับนำมาเป็นเครื่องปรุงจาก บาทหลวงชาวโปรตุเกสในสมัยพระนารายณ์ ส่วนอาหารประเภทผัดไฟแรง

ได้รับมาจากชาวจีนที่อพยพ มาอยู่ในเมืองไทยใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ ขายเป็นอาชีพและมีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้มีการหาเนื้อสัตว์มา รับประทานมาก

 

ขึ้นมีการใช้เครื่องเทศหลากชนิดเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อที่นำมาปรุงเป็นอาหารเครื่องเทศที่คนไทยนิยมนำมาปรุง อาหารประเภทนี้เช่น ขิง กระชาย ที่ใช้ดับกลิ่นคาวปลามานาน ก็นำมาประยุกต์กับเนื้อสัตว์ประเภทวัว ควาย เป็นสูตรใหม่ของคนไทยได้อีกด้วย

อาหารไทย จุดกำเนิดของการมาเป็นอาหารไทย

อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาของ อาจารย์กอบแก้วนาจพินิจมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้

 

 

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานที่พบ ในช่องท้องของศพผู้หญิง อายุราว 3,000 ปี ที่บ้านโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี พบข้าวเปลือก กระดูก เกล็ดและก้างปลาหมอนอกจากนี้ยังพบซากปลาช่อนทั้งตัวขด

อยู่ในหม้อดินเผา ที่ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา มีอายุไม่น้อยกว่า 3,000 ปี ทำให้เห็นว่า

 

คนไทยเมื่อ 3,000 ปี ก่อน กินข้าวและปลาเป็นอาหารสมัยสุโขทัย อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึก และวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่ามีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกันกับเนื้อสัตว์ ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง กินผลไม้เป็นของหวาน การปรุงอาหารได้

 

ปรากฏคำว่า“แกง” ในไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า  ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตง และน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้านเช่นข้าวตอก และน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน

ข่าวสารน่าสนใจ